ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวจิรัสยา สัตตัง ค่ะ Languagen Expriences Management For Early Childhood

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่13

สิ่งที่ได้รับในวันนี้ ^^

 หลักการและความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อม

         -   สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก  ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฏิบัติจริง  เป็นผู้กระทำด้วบตนเอง  เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน

         -   สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้าง  เด็กควรได้สื่อสารสองทาง
         -   สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ  ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆโดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
         -   สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจา  เด็กควรได้รับการมีประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์หลายๆรูปแบบ   
      
-ในการจัดสภาพแวดล้อมประสบการณ์และกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กที่ผู้สอนและเด็กมีส่วนที่จะริเริ่มทั้ง    ฝ่าย โดยผู้สอนจะเป็น ผู้สนับสนุน ชี้แนะ และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก 
ส่วนเด็กเป็นผู้ลงมือกระทำ เรียนรู้ และค้นพบด้วยตนเอง   
ดังนั้น  ผู้สอนจะต้องยอมรับ  เห็นคุณค่า รู้จักและเข้าใจเด็กแต่ละคนที่ตนดูแลรับผิดชอบก่อน  เพื่อจะได้วางแผน สร้างสภาพแวดล้อม และจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ผู้สอนต้องรู้จักพัฒนาตนเอง  ปรับปรุงใช้เทคนิคการจัดกิจกรรมต่างๆให้เหมาะกับเด็ก
    

           มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


         -   มุมหนังสือ
         -   มุมบทบทาสมมุติ
         -   มุมศิลปะ
         -   มุมดนตรี         
         -   ฯลฯ

             ลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา


          -   มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
          -   เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
          -   บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ สี กระดาษ กรรไกร กาว
          -   เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน  ออกแบบ

              สื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


           -   สื่อของจริง
           -   สิ่งของจำลอง
           -   ภาพถ่าย
           -   ภาพโครงร่าง          
            -   สัญลักษณ์
       กิจกรรมในวันนี้**
อาจารย์ให้นักศึกษาคัดพยัญชนะ ก-ฮ หัวกลมตัวเหลี่ยม 

***การนำไปประยุกต์ใช้ คือ สามารถเขียนพยัญชนะได้อย่างถูกต้องตามหลักของภาษา เพื่อจะได้นำไปสอนเด็กให้มีพัฒนาการทางภาษาที่ถูกต้อง
                                        
                             ***ผลงานของฉัน
          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น